Welcome to my blogger

วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6


 Science Experiences Management for Early Childhood 
Teachert. Jintana Suksamran

 Tueday , September 23 , 2557
Time 14.10 To 17.30 pm.

ความรู้ที่ได้รับ ( The Knowledgo Gained )

          สำหรับวันนี้เริ่มกิจกรรมการทำลูกยางกระดาษ โดยอาจาย์เตรียมกระดาษและอุปกรณ์มาให้ แล้วสอนวิธีการทำ ถ้านำกิจกรรมนี้ไปใช้กับเด็ก ให้เด็กได้สร้างผลงานด้วยตนเอง ตามทฤษฎี Constructivism ให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ด้วยตนเอง


 จากนั้นวันนี้ก็มีการนำเสนอบทความของเพื่อนๆโดยสรุปได้ดังนี้
         คนที่ 1.Napawan Krudkhunthian
 สอนเด็กปฐมวัยเรียนวิทย์จาก “เป็ด” และ “ไก่”
 ผู้แต่ง  ครูลำพรรณี มืดขุนทด    จาก โรงเรียนบ้านหนองผือจำเริญพัฒนา

       คุณครูจึงได้การจัดการเรียนรู้ด้วยการสืบเสาะหา ความรู้ตามแนวทางของ สสวท.ผ่านนิทานเรื่อง “หนูไก่คนเก่ง”
    การเรียนรู้จากนิทานเรื่องนี้มีขั้นตอนการจัดกิจกรรม 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนนำเด็กร้องเพลงไก่ พร้อมทั้งทำท่าทางอย่างอิสระ ฟังนิทานเรื่องหนูไก่คนเก่ง สนทนาและตั้งคำถามในการสืบค้นเกี่ยวกับสัตว์ในนิทานเรื่องหนูไก่คนเก่ง ขั้นตอนต่อมาชวนเด็กตั้งคำถามเชิงวิทยาศาสตร์ สำรวจตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับไก่และเป็ด โดยนำลูกไก่และลูกเป็ดมาให้เด็กสังเกตรูปร่าง ลักษณะ ขนาด อาหารของลูกไก่และลูกเป็ดด้วยตาเปล่ากับแว่นขยาย และต้องบอกรายละเอียดให้มากที่สุด  


        คนที่ 2. Suthasinee Tamarnon
  แนวทางให้เด็กทดลอวิทยาศาสตร์
  ผู้เขียน: ดร.เพกัญญา  พรหมขัติแก้ว
        การส่งเสริมพัฒนาการของ เด็กปฐมวัยในด้านวิทยาศาสตร์นั้น อาจไม่จำเป็นต้องแยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ เพียงแต่ครูปฐมวัยควรจะตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ละช่วง เวลานั้น เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็กๆ และควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อจะสามารถตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ

      คนที่ 3.Narumon Isara 
  การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย
  โดย  มิสวัลลภา  ขุมหิรัญ
การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
    การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีประสบการณ์ตรง ได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนในของเด็กและส่งเสริมการ
 เพื่อพัฒนามุมมองและความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงการส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลและมีความรับผิดชอบสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวอย่างเหมาะสมตามวัย

        คนที่ 4. Yupadee Sonprasert
 เรื่อง  โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร?
 เด็กปฐมวัยไขคำตอบในวันวิทยาศาสตร์น้อย 2556
       กิจกรรมนี้จะทำให้เด็กปฐมวัยตระหนักว่าพวกเขาสามารถหาความรู้ได้จากสิ่งแวดล้อม ตัวของพวกเขามีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อมและร่วมสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมที่พวกเขาใช้ชีวิตอยู่ได้  ให้เด็กๆได้ทำกิจกรรมเรียนรู้ผ่านการสืบเสาะหาความรู้ การคิดละลงมือแก้ปัญหาด้วยประสบการณ์ตรงอย่างเหมะสมกับวัย และเป็นไปตามหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย

       หลังจากที่เพื่อนๆนำเสนอบทความเสร็จ อาจารย์ได้สอนต่อโดยใช้Power Point เรื่องทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยมีหัวข้อดังนี้



สิ่งที่จะนำไปพัฒนา ( What Will Be Furher Developedl )
       ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนการสอนการทำสื่อและฟังบทความวันนี้ นำไปปรับใช้ในการเรียนการสอนในรายวิชานี้ต่อไป และสามารถนำไปต่อยอดในการเรียนการสอนรายวิชาอื่นได้ด้วย อีกทั้งยังสามารถนำความรู้และการจัดกิจกรรมจากบทความที่เพื่อนๆนำเสนอไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรมให้เด็กๆได้อย่างเหมาะสมได้อีกในอนาคต

การประเมินผล ( Evaluation )
       ตนเอง  ( Self ) เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย มีความตั้งใจในการเรียน ตั้งใจทำกิจกรรม มีการนำเสอนบทความหน้าชั้นให้เพื่อนๆฟัง มีการจดบันทึกเนื้อหาทำความเข้าใจ
     
     เพื่อน  ( Friends ) เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์และแสดงความคิดเห็นต่างๆภายในชั้นเรียน 

     อาจารย์   (Teacher ) อาจารย์ มีการให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นในเนื้อหาซึ่งเป็นการฝึกให้นักศึกษากล้าที่จะแสดงความคิดเห็นและอาจายร์ยังได้ช่วยสรุปเกี่ยวกับบทความทำให้เราเข้าใจยิ่งขึ้น มีเทคนิคการสอนที่ดี มีการให้นัดศึกษาประดิษฐ์สื่ออีกด้วยดีคะ

วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2557

The Secret of Light


ความลับของแสงThe Secret of Light

         ได้เรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติบนโลกนี้นี้ การเกิดลม ฝน แสง สีและเสียง การมองเห็นสิ่งต่างๆ มีทั้งความมืดและความสว่าง การมองเห็นแสงที่มีความเร็วมากถึง 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที ซึ่งถ้าเป็นมนุษย์ก็จะสามารถวิ่งได้รอบโลกประมาณ7รอบใน1วินาทีเลย แสงช่วยให้เห็นสิ่งต่างๆได้ เกิดจากการสะท้อนของแสงเข้ามาทางตาของเรา ทำให้เรามองเห็นสิ่งของต่างๆได้ ตาของเราคือจอสำหรับรับแสงสะท้อนมาจากสิ่งของที่เห็น ถ้าเราแสบตาเมื่อมองแสงแดดหรือแสงไฟนั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของปริมาณแสงเร็วเกินไปทำให้ตาของเรายังปรับตามไม่ทันจึงทำให้แสบตา นอกจากแสงที่มีความสำคัญแล้วยังมีดวงอาทิตย์ให้แสงสว่างกับมนุษย์ได้ตลอดเวลา แสงจะเดินทางเป็นเส้นตรง วัตถุบนโลกของเราเมื่อมีแสงมากระทบแล้วก็มีความแตกต่างกัน3ลักษณะ คือ    
1.วัตถุโปร่งแสง(translucent objects) คือ แสงทะลุผ่านไปได้บางส่วน มองเห็นไม่ชัด
2.วัตถุโปร่งใส(transparent objects)  คือ แสงผ่านไปได้ทั้งหมด สามารถมองเห้นได้ชัดเจน
3.วัตถุทึบแสง(Opaque object)  คือ ดูดกลืนแสงบางส่วนไว้แล้วสะท้อนส่วนที่เหลือเข้าตาเรา
        การเดินทางของแสงจะเป็นเส้นตรง ซึ่งตาของมนุษย์ก็จะมีรูเล็กๆคือรูรับแสง แต่สมองของเราจะช่วยให้กลับบ้านภาพให้เป็นปกติโดยอัตโนมัติ คุณสมบัติของแสงมีประโยชน์มากมาย เช่น การสะท้อนแสง การหักเหของแสง เป็นต้น การที่เรามองเห็นวัตถุที่มีสีแตกต่างกัน เพราะว่าวัตถุบนโลกใบนี้มีสีในตัวของมันเอง ทำให้มีการสะท้อนแสงและการดูดกลืนแสงสีที่แตกต่างกัน เมื่อมีการกระทบวัตถุก็จะดูดกลืนแสง แล้วสะท้อนสีที่มีสีเดียวกันออกมา จึงทำให้เราเห็นสีของต่างๆของวัตถุ เงาก็เกิดจากการแสงเหมือนกัน
สรุปเป็น Mind Map ได้ดังนี้


                      คำศัพท์
                      1. The Secret of Light    ความลับของแสง
                      2. light  แสง
                      3. Reflection of light  =  การสะท้อนแสง
                      4. shadows  =  เงา
                      5. Visibility  =  การมองเห็น
                      6. relax  =  การพักผ่อน
                      7. hearing  =  การได้ยิน
                      8. challenge  =  ความท้าทาย
                      9. Entertainment  =  ความบันเทิง
                     10. translucent objects  =  วัตถุโปร่งแสง
                     11.Opaque object = วัตถุทึบแสง



บันทึกอนุทินครั้งที่ 5


 Science Experiences Management for Early Childhood 
Teachert. Jintana Suksamran

 Tueday , September 16 , 2557
Time 14.10 To 17.30 pm.

ความรู้ที่ได้รับ ( The Knowledgo Gained )

          วันนี้อาจารย์เปิดเพลงเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ให้เราฟัง  แล้ววิเคราะห์เนื้อหาของบทเพลงนี้ จากนั้นอาจารย์ก็ให้ทุกคนบอกชื่อเพลงเกี่ยวกับเด็กปฐมวัยโดนห้ามซ้ำกัน ต่อจากนั้นได้มีเพื่อน 2 คน ออกไปนำเสนอบทความวิทยาศาสตร์โดยบทความสรุปดังนี้
           คนที่ 1 Winat Yotkaew
  นำเสนอเรื่อง  หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย จำเป็นหรือไม่?
  ผู้เขียน อาจารย์ชุติมา  เตมียสถิต
          หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย เป็นการส่งเสริมครูปฐมวัยให้สามารถจัดประสบการณ์ในรูปของกิจกรรมบูรณาการที่ สามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยได้อย่างครบถ้วนทุกด้าน โดยไม่จำเป็นต้อง แยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์  เพียงแต่ครูปฐมวัยควรจะตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ละช่วง เวลานั้น เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็กๆ และควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อจะสามารถตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียน รู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบผลจากการติดตามการทดลองใช้ พบว่าครูสามารถที่จะนำกรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย ไปจัดกิจกรรมบูรณาการวิทยาศาสตร์ในทุกสาระที่ควรรู้ได้ในทุกสาระโดยสอดแทรก เข้าไปในทุกกิจกรรมหลักที่ครูจัดอย่างสม่ำเสมอได้ แต่สิ่งที่ครูยังมีความต้องการนั้น ครูยังต้องการตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เยอะ ๆ ซึ่ง สสวท. กำลังพัฒนาส่วนนี้อยู่
         คนที่ 2 Janjira Butchuang
  นำเสนอเรื่อง   สอนลูกเรื่องพืช
  ผู้เขียน  อาจารย์นิติธร ปิลวาสน์ 
          การส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับพืช นิดต่างๆนั้น พ่อแม่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ซึ่งสามารถจัดกิจกรรมให้เด็กได้ เรียนรู้ง่ายๆจากกิจวัตรประจำวัน ตัวอย่างเช่น
1. การให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรมการประกอบอาหารประเภทผัก ผัดผักรวม แกงเลียง แกงส้ม หรือสลัดผัก พ่อแม่ควรเปิดโอกาสให้ลูกได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการประกอบอาหาร การช่วยใส่ส่วนประกอบที่เป็นผักลงในกระทะ การเติมเครื่อง ปรุงต่างๆ ขณะที่เด็กช่วยเตรียมผัก พ่อแม่อาจจะถามเด็กว่าผักที่กำลังเตรียมปรุงอาหารมีชื่ออะไรบ้าง มีประโยชน์อย่างไร
2. การหัดให้เด็กเพาะปลูกพืชง่ายๆที่บ้านก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน
3. ให้เด็กไปช่วยเลือกซื้อพันธุ์พืชที่เป็นไม้ดอก ไม้ประดับ จากแหล่งจำหน่ายพันธุ์ไม้ และนำมาจัดเป็นสวนหย่อมที่หน้าบ้าน
4. พาลูกไปเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวที่มีพันธุ์พืชหรือต้นไม้ เช่น สวนดอกไม้ สวนพฤกษศาสตร์ ภูเขา น้ำตก
       
          หลังจากนำเสนอบทความเสร็จได้ทำกิจกรรมต่อโดยมีการแจกอุปกรณ์และอธิบายขั้นตอนดั้งนี้
อุปกรณ์ 
กระดาษ 
ไม้เสียบลูกชิ้น
สีเมจิก
เทปกาว
ขั้นตอน
ให้กระดาษมาแบ่งกัน 4 คน ต่อ กระดาษ 1 แผ่น พับครั้งแบ่ง4
แล้ววาด 2 อัน คือ อันแรกวาดรูปตะกร้า และอีกด้านหนึ่งวาดผลไม้ ให้ทั้งสองด้านมีความสัมพันธ์กัน
ติดไม้เสียบลูกชิ้นกับกระดาษไว้ตรงกลาง 
และเอาเทปกาวติดรอบๆ แล้วลองหมุนดู
       จากการทำกิจกรรมจะเห็นได้ว่าเวลาเราหมุนเราจะเห็นเหมือนผลไม้มาอยู่ในตะกร้า ซึงรูปเราวาดคนละด้าน


 สิ่งที่จะนำไปพัฒนา ( What Will Be Furher Developedl )
            สามารถนำกิจกรรมที่อาจารย์สอนไปใช้ได้ในการเรียนการสอนนำไปปรับใช้ในการจัดการเรียนรู้กับเด็กปฐมวัย ตัวอย่างนำสื่อที่อาจารย์สอนไปสอนต่อให้กับเด็กแต่อาจมีการตกแต่งให้สวยงามยิ่งขึ้น ให้เหมาะสมตามวัยของเด็ก

การประเมินผล ( Evaluation )
          ตนเอง  ( Self ) เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและที่อาจารย์อธิบายรายละเอียดต่างๆ มีการแสดงความคิดเห็นร่วมกับอาจารย์ ตังใจประดิษฐ์ผลงานของตัวเองให้สวยงาม

               เพื่อน  ( Friends ) เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้ออย ตั้งใจฟังอาจารย์และแสดงความคิดเห็นต่างๆภายในชั้นเรียน 


               อาจารย์   (Teacher )  อาจารย์มาสอนตรงเวลา มีการให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นในเนื้อหาและงานที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งเป็นการฝึกให้นักศึกษากล้าที่จะแสดงความคิดเห็น มีเทคนิคการสอนที่ดี มีการให้นัดศึกษาประดิษฐ์สื่อที่จะนำไปใช้ได้ในอนาคตในการเรียนการสอนดีคะ


article


 

(Little Scientists’ Day 2013)

          สสวท. ได้เห็นความสำคัญของการปลูกฝังการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตั้งแต่ระดับปฐมวัย ในรูปของกิจกรรมบูรณาการสหวิชา ให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการสืบเสาะหาความรู้ การคิด และลงมือแก้ปัญหาด้วยประสบการณ์ตรงอย่างเหมาะสมกับวัยและเป็นไปตามหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย   กิจกรรม ในวันนี้นักวิทยาศาสตร์ตัวน้อย จะได้ร่วมกันหาคำตอบจากคำถามที่ว่า โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร เนื่องจากมนุษย์เป็นผู้ใช้ทรัพยากร ดิน น้ำ อากาศและพลังงาน จึงมุ่งหวังให้เด็ก ๆ ตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน โดยมองเห็นประโยชน์ของทรัพยากรเหล่านี้จากการทำกิจกรรม
         กิจกรรมนี้จะทำให้เด็กปฐมวัยตระหนักว่าพวกเขาสามารถหาความรู้ได้จากสิ่งแวดล้อม ตัวของพวกเขามีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อมและร่วมสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมที่พวกเขาใช้ชีวิตอยู่ได้ สำหรับกิจกรรมที่จัดที่นี้ มี 6 กิจกรรม ประกอบด้วย กิจกรรมหวานเย็นชื่นใจ ความลับของดิน ถึงร้อนก็อร่อยได้ มหัศจรรย์กังหันลม ว่าวเล่นลม โมบายเริงลม
        กิจกรรมที่เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ทั้งหมดเน้นการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว เพื่อเริ่มต้นทำความเข้าใจเกี่ยวกับโลกเรา อาศัยกิจกรรมที่นำไปสู่การค้นพบคำตอบเกี่ยวกับดิน น้ำ อากาศ และไฟ จากการทดลองค้นคว้าง่ายๆ ตามศักยภาพของเด็ก โดยกระตุ้นการเรียนรู้จากการตั้งคำถามและร่วมกันค้นหาคำตอบไปพร้อมๆ กัน
        ดร. พรพรรณ ไวทยางกูร ผู้อำนวยการ สสวท. กล่าวต่อไปว่า ประโยชน์ที่ได้รับจากงานนี้คือประสบการณ์การเรียนรู้และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสร้างแรงบันดาลใจให้แก่เด็กๆ ปฐมวัยในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ การได้เข้าใจโลกในมุมกว้าง ซึ่งจะเป็นก้าวสำคัญในการเป็นพื้นฐานที่จะต่อยอดการเรียนรู้ในระดับที่สูงยิ่งๆ ขึ้นไป



วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

 Science Experiences Management for Early Childhood 
Teachert. Jintana Suksamran

Tueday , September 9 , 2557
Time 14.10 To 17.30 pm

ความรู้ที่ได้รับ ( The Knowledgo Gained )

     สำหรับการเรียนในวันนี้ 
เรื่อง รูปแบบการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย  โดยสรุปเป็น Mind Map ได้ดังนี้



        สิ่งที่จะนำไปพัฒนา ( What Will Be Furher Developedl )
             สามารถนำความรู้หลักการ ทฤษฎีไปปรับใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยได้อย่างถูกต้อง และตรงตามความต้องการของเด็ก  และนอกจากนี้เพื่อเป็นแนวทางในการเรียนการสอนในรายวิชาต่างๆอีกด้วย

     การประเมินผล ( Evaluation )
             ตนเอง( Self )  มีการตอบคำถามบางเป็นบางครั้ง ตั้งใจเรียนดี แต่งกายถูกระเบียบ เข้าเรียนตรงต่อเวลา

             เพื่อน( Friends )  มีความสนใจในการเรียนกันเป็นอย่างดี มีการแสดงความคิดเห็นกันทุกคน อาจมีบางคนชอบคุยเล่นเสียงดังเป็นบางคร้งคะ

            อาจารย์( Teacher ) เข้าสอนตรงต่อเวลา มีการอธิบายหัวข้อที่เรียนได้อย่างละเอียด ครบถ้วน ที่เทคนิคการสอนที่ดี มีการใช้คำถามเพื่อให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนดี มีการใช้สื่อการสอนด้วยเทคโนโลยืดีคะ


วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

 
วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 
อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
 

วันที่ 2  กันยายน  2557

  
 สำหรับวันนี้
ได้เข้าร่วมกิจกรรม 
" โครงการ ศึกษาศาสตร์วิชาการ"  "Thinking Faculty"
         สำหรับกิจกรรมที่เข้าร่วม
               1.นิทรรศการ เป็นระบบ
               2.นิทรรศการ การคิดวิเคราะห์
               3.นิทรรศการ การคิดวิจารณญาณ
               4.นิทรรศการ การคิดสังเคราะห์์
               5.นิทรรศการ การคิดสร้างสรรค์
               6.นิทรรศการ ผลงานการคิด
รูปใบกิจกรรม


 กิจกรรมในวันนี้
 ได้ส่งเสริมการทำงานร่วมกับผู้อื่น อีกยังได้รับความสนุกสนาน
ในการทำกิจกรรม ได้ทำกิจกรรมต่างๆตามที่จัดไว้ 
แต่ละกิจกรรมก็จะทำให้เราได้ฝึกคิดต่างๆกันไปเช่น 
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ คิดเป็นระบบ 


บันทึกอนุทินครั้งที่ 2


วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ

วันที่ 26  สิงหาคม  2557

สำหรับการเรียนในวันนี้ 
เรื่อง เด็กปฐมวัยกับวิทยาศาสตร์ โดยสรุปเป็น Mind Map ได้ดังนี้


บันทึกอนุทินครั้งที่ 1

   วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  

อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ

วันที่ 19  สิงหาคม  2557


         วันนี้เป็นวันเปิดเทอมวันแรก จึงยังไม่มีการเรียนการสอนคุณครูแจก แนวการสอน (Course Syllabus) และอธิบายเกี่ยวกับรายวิชา พูดถึงเรื่องวิชาวิทยาศาสตร์สำคัญกับเด็กอย่างไรสิ่งสำคัญสำหรับเด็กปฐมวัยคือพัฒนาการ ความหมายความสำคัญ แนวคิด ทฤษฏี และหลักการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการต่างๆทางวิทยาศาสตร์ รูปแบบการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และได้พูดเกี่ยวกับสิ่งที่จะสอนและเรื่องการเก็บคะแนนต่างๆในรายวิชานี้