Welcome to my blogger

วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16

Science Experiences Management for Early Childhood 
Teachert. Jintana Suksamran

Tueday ,December 2 , 2557
Time 14.10 To 17.30 pm.

ความรู้ที่ได้รับ ( The Knowledgo Gained )
          สำหรับวันนี้เพื่อนได้นำเสนอTHAI TEACHER TV , RESEARCH ต่อดังนี้
RESEARCH
 - ผลการจัดประสบการณ์ที่เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
 -การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
 - ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานที่ได้รับการจัดประสบการรณ์แบบโครงการและแบบสืบเสาะหาความรู้
- การคิดพิจารณาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์
- การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางธรมชาติเนื้อสิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัย
- ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ธรรมชาติที่มีการจัดประสบการณ์ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
THAI TEACHER TV
 - เรียนรู้วิทยาศาสตร์ 
- เสียงในการได้ยิน  เรื่องราวของเสียง  
 - จิตวิทยาศาตร์  การทำอย่างไรให้เด็กมีจิตวิทยาศาสตร์ การสร้างบรรยากาศการเรียน


         หลังจากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษานั่งตามกลุ่มที่เคยทำแผน 5 คน แล้วช่วยกันทำแผ่นพับเรื่องสายสัมพันธ์ผู้ปกครองและนักเรียน โดยแจกกระดาษให้นักศึกษาทุกคนทำ แล้วเลือกอันที่ดีที่สุดส่งอาจารย์เพียง 1 แผ่นค่ะ

สิ่งที่จะนำไปพัฒนา ( What Will Be Furher Developedl )
          เราสามารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ ไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรมได้ในอนาคต  และยังนำแนวทางการเขียน การทำแผ่นพับไปปรับใช้ในอนาคตได้อีก

การประเมินผล ( Evaluation )
          ตนเอง  ( Self ) ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอวิจัยและโทรทัศท์ครู และตั้งใจแผ่นพับ คะ

         เพื่อน  ( Friends ) ตั้งใจเรียนและตั้งใจนำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ดีมากคะ ไม่ค่อยคุยกัน

         อาจารย์  (Teacher ) อาจารย์มีคำแนะนำในการเสนอทุกครั้งทำให้เราเข้าได้และเข้าใจได้ถูกต้อง อาจารย์มักมีกิจกรรมใหม่ๆมานำเสนอให้เด็กอยู่เสมอดีมากคะ




วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15

Science Experiences Management for Early Childhood 
Teachert. Jintana Suksamran

Tueday , November 25 , 2557
Time 14.10 To 17.30 pm.

ความรู้ที่ได้รับ ( The Knowledgo Gained )
           สำหรับวันนี้เพื่อนได้นำเสนอTHAI TEACHER TV , RESEARCH ต่อดังนี้
คนที่ 1 นางสาวธิดามาศ ศรีปาน  เรื่อง การกำเนิดของเสียง ( THAI TEACHER TV )
         ได้ฝึกทักษะการคิด การทดลอง การใช้คำถามกับเด็ก เช่น เสียงต่างกันอย่างไร มาจากไหน

คนที่ 2 นางสาววรรนิศา  นวลสุข  วิจัยผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานของเด็กปฐมวัย   
          การเรียนรู้เรื่องสี คือสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเด็ก  สิ่งที่อยู่ตามธรรมชาติ เช่น ผัก ผลไม้ ดอกไม้นิยามศัพท์ ได้ทักษะการสังเกต  จำแนกประเภท ทักษะการหาความสัมพันธ์  ทักษะการลงความเห็น

คนที่ 3 นางสาวสารอาหารในชีวิตประจำวัน (THAI TEACHER TV.)
         การเรียนรู้ การปรุงอาหารเกิดจากการผสมส่วนประกอบของอาหารต่าง ๆ เข้าด้วยกันอย่างถูกต้องตามชื่ออาหารนั้นให้ได้รสที่ต้องการ ผลลัพธ์การเรียนรู้ ปรุงอาหารเป็น รู้จักรสอาหาร เช่น เค็ม เปรี้ยว หวาน สนุกกับการทำงานร่วมกับเพื่อน

คนที่ 4 นางสาวไฟฟ้าและพันธุ์พืช (THAI TEACHER TV).
         สอนเรื่องการเจริญเติบโตของพืช โดยใช้สื่อการเรียนรู้ยอกห้องเรียน และให้นักเรียนสังเกตการณ์เจริญเติบโตของพืช จากนั้น ให้เด็กทำโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องไฟฟ้าและพันธุ์พืช ซึ่งจากการที่เด็กได้ลงมือทำแล้ว มีสื่อ มีอุปกรณ์ให้เด็กได้ทำการทดลองเด็กก็จะเกิดทักษะกระบวนการทางด้านวิทยาศาสตร์

คนที่ 5 นางสาวศิริวิมล หมั่นสนธิ์ งานวิจัยการเสริมประสบการณ์เรื่องแสงที่มีต่อทักษะการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัย  
         กิจกรรมส่งให้แสวงหาความรู้เกี่ยวกับทักษะความรู้ ซึ่งแสงได้อยู่รอบๆตัวเรา และนำไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมเสริมประสบการณ์เรื่องของแสง  เพื่อพัฒนาและส่งเสริมทักษะของเด็กปฐมวัย

คนที่ 6 นางสาว  งานวิจัยการพัฒนาทักษะพื้นฐานของเด็กปฐมวัย ด้วยกิจกรรมทำเครื่องดื่มสมุนไพร
          ทักษะในวิจัยนี้ มีทักษะการสังเกต การจะแนก การสื่อความหมายของข้อมูล เด็กจะได้ทักษะทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น

         จากนั้นได้ทำกิจกรรม Cooking Waffle  
อุปกรณ์และส่วนผสม
  1. ไข่ไก่ ( Egg )
  2. เนย ( Butter )
  3. แป้ง ( Powder )
  4. น้ำ ( Water )
  5. ถ้วย ( Cup ) 
  6. ช้อน ( Spoon )
วิธีทำ Waffle
     1.เริ่มผสมแป้งและตอกไข่ ใส่เนย เติมน้ำทีละนิด แล้วตีแป้งและส่วนประกอบอื่นๆให้เข้ากัน จนได้เนื้อแป้งที่ไม่เหลวและแข็งจนเกินไป
     2.เมื่อได้แป้งตามที่ต้องการ ตักใส่ถ้วยตวงเพื่อนำไปอบ ขณะเทแป้งลงเครื่องอบ ควรเทตรงกลางเพื่อให้แป้งสามารถกระจายได้ทั่วถึง เมื่ออบเสร็จแล้วจะได้ วอฟเฟิล น่าตาน่าทานค่ะ 


       การทำWaffle เป็นกิจกรรมที่เหมาะสมกับเด็ก เพราะ เด็กสามารถลงมือทำด้วยด้วยตนเอง ได้ และเด็กได้เรียนรู้การสังเกต และการใช้ประสาทสัมผัสด้วยจากตาดู หูฟัง จมูกได้กลิ่น และได้ชิมรสและเด็กๆยังเกิดความสนุกสนานที่ได้ลงมือปฎิบัติอีกด้วย แต่ทั้งนี้การทำกิจกรรมควรมีครูหรือผู้ปกครองเป็นผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด


สิ่งที่จะนำไปพัฒนา ( What Will Be Furher Developedl )

          การนำความรู้เกี่ยวกับวิจัยและการทดลองจากโทรทัศน์ครูไปเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาต่างๆ และนำการทำอาหารไปใช้สอนเด็กได้ในวันข้างหน้า

การประเมินผล ( Evaluation )
          ตนเอง  ( Self ) ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอวิจัยและโทรทัศท์ครู และตั้งใจทำกิจกรรม CookingWaffle  เป็นอย่างมากเพราะรู้สึกสนุกและอิ่มด้วยคะชอบมากคะ

         เพื่อน  ( Friends ) ก็ตั้งใจเรียนและตั้งใจฟังเพื่อนที่นำเสนอดีคะ ไม่ค่อยคุยกันและให้ความร่วมมือดีมากในการทำ กิจกรรมCookingWaffle

         อาจารย์  (Teacher ) อาจารย์ให้คำแนะนำเพิ่มเติมเพื่อนที่ไปนำเสนอ เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น และอาจารย์ได้นำกิจกรรม Cooking  Waffle มาสอนอีกด้วยสนุกมากคะ ทำให้เราได้ความรู้เกี่ยวกับการทำWaffle เพื่อไปใช้ในการสอนเด็กได้ในอนาคตด้วยคะ ชอบมาก



บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

Science Experiences Management for Early Childhood 
Teachert. Jintana Suksamran

Tueday , November 18 , 2557
Time 14.10 To 17.30 pm.

ความรู้ที่ได้รับ ( The Knowledgo Gained )
          สำหรับวันนี้ อาจารย์ได้ให้เพื่อนนำเสนอการสอนต่อจากครั้งที่แล้ว
กลุ่มที่7 หน่วยนกหงษ์หยก
           สอนเรื่องชนิดและลักษณะของนกหงศ์หยก


กลุ่มที่8 หน่วยสับปะรด (กลุ่มของดิฉัน)
             สอนเรื่องประโยชน์และข้อควรระวังของสับปะรด โดยมีนิทานเรื่อง "น้องหนูนากับสับปะรด"เป็นสื่อการสอน ให้เด็กสนุกและสนใใจยิ่งขึ้น


กลุ่มที่9 หน่วยส้ม
            สอนเรื่องประโยชน์การแปรรูปของส้ม


          หลังจากนำเสนอการสอนแผนเสร็จอาจารย์ได้ให้เพื่อนนำเสนอ THAI TEACHER TV , RESEARCH ที่ให้ไปสรุปมาหน้าชั้น ดังนี้
          คนที่ 1  นางสาวกมลชนก หยงสตาร์  เรื่องนมสีกับน้ำยาล้างจาน ที่มาจากYouTube 
          ขั้นตอนการทดลอง ใส่นม-ใส่สีผสมอาหาร-ใส่น้ำยาล้างจาน  หลังจากนั้นสังเกตุปฏิกิริยาในการทดลอง
         ในเรื่องนี้เด็กๆได้เรียนรู้ในการสังเกต การทดลอง

           คนที่ 2 นางสาวจุฑาทิพย์ แก่นแก้ว นำเสนอวิจัย สร้างพื้นฐานการเรียนรู้กับประสาทสัมผัสทั้ง5
          ทักษะที่ได้รับคือ การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 ฝึกการสังเกต ฝึกการมอง ฝึกการฟัง ฝึกการดมกลิ่น ฝึกการสัมผัส ฝึกการชิมรสชาติ

          คนที่ 3 นางสาวรัตติพร ชัยยัง  นำเสนองานวิจัย กระบวนการพัฒนาวิทยาศาสตร์พื้นฐานส่งเสริมศิลปะสร้างสรรค์

          คนที่ 4 นางสาวอนุสรา  แก้วชู นำเสนองานวิจัย ผลการเรียนรู้ทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาตร์เด็กปฐมวัย
          วิจัยนี้เด็กได้เรียนรู้ทักษะ - การจำแนก  - ทักษะการสื่อความหมาย

          คนที่ 5  นางสาวรัชดาภรณ์  มณีศรี นำเสนอโทรทัศน์ครูกิจกรรมวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยเรื่องหนังสือลอย
          กิจกรรมนี้เด็กได้ทักษะ - การสังเกต  - การจำแนก  - ทักษะการสื่อความหมาย 

         จากนั้นได้ทำกิจกรรม Cooking ทาโกยากิ
         ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สามารถนำไปใช้สอนเด็กๆได้ เพราะขั้นตอนไม่ยุ่งยาก อุปกรณ์และส่วนผสมหาได้ง่าย
         ส่วนผสมมีดังนี้
  1. ไข่ไก่ ( Egg )
  2. ข้าวสวย ( Rice )
  3. ผักต่างๆ ( เช่น แครทCarror / ต้นหอมLeek เป็นต้น หรือ ผักที่เราชอบ )
  4. ปูอัด หรือจะเป็นอย่างอื่นก็ได้ตามใจชอบ
  5. ซอสปรุงรส
  6. เนย ( Better )
   

         วิธีทำ ทาโกยากิ
  1. ให้เด็กหั่นแครอท2แท่ง ปูอัด3เส้น ตั้นหอม1เส้น
  2. ให้เด็กๆเจียวไข่แล้วตักลงถ้วยตัวเองคนละ1ทัพพี
  3. ให้เด็กนำถ้วยที่ใส่ไข่ไปใส่เครื่องปรุง ดังนี้ แครอท1ช้อนชา ปูอัด1ช้อนชา ต้นหอม1ช้อนชา ซอลปรุงรสครึ่งช้อนชา(แล้วแต่ความชอบ) ข้าวเปล่า1ช้อนโต๊ะแล้วคนให้เขากัน
  4. จากนั้นตั้งกระทะให้ร้อนนำเนยใส่เล็กน้อยเพื่อไม่ให้ติดกระทะและให้เด็กๆเททาโกยากิลงกระทาทาโกยากิดูการเปลี่ยนแปลง สังเกตการเปลี่ยนแปลงดูว่าสุกแล้วจะเป็นอย่างไร มีกลิ่นอย่างไร 
  5. จากนั้นเมื่อทาโกยากิสุกนำให้เด็กๆลองชิมทาโกยากิที่เด็กๆทำเอง

          การทำไข่ทาโกยากิเป็นกิจกรรมที่เหมาะสมกับเด็ก เพราะ เด็กสามารถลงมือทำด้วยด้วยตนเอง ได้ และเด็กได้เรียนรู้การสังเกต และการใช้ประสาทสัมผัสด้วยจากตาดู หูฟัง จมูกได้กลิ่น และได้ชิมรสและเด็กๆยังเกิดความสนุกสนานที่ได้ลงมือปฎิบัติอีกด้วย แต่ทั้งนี้การทำกิจกรรมควรมีครูหรือผู้ปกครองเป็นผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด

สิ่งที่จะนำไปพัฒนา ( What Will Be Furher Developedl )

          การนำแผนการสอนไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย นำวิธีการสอนไปสอนเด็กในอนาคตนำเทคนิคการสอนของเพื่อนไปพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นในการสอน นำความรู้เกี่ยววิจัยและการทดลองจากโทรทัศน์ครูไปเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาต่างๆ และนำการทำอาหารไปใช้สอนเด็กได้ในวันข้างหน้า

การประเมินผล ( Evaluation )
          ตนเอง  ( Self ) ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอการสอนแผนและจดจำเทคนิคที่ดีของเพื่อนเพื่อ ไปปรับใช้กับการสอนของตนเอง และได้ออกไปนำเสนอแผนของกลุ่มต้นเองด้วยค่ะ และตั้งใจทำกิจกรรม Cooking ทาโกยากิ เป็นอย่างมากเพราะรู้สึกสนุกและอิ่มด้วยคะ

         เพื่อน  ( Friends ) กลุ่มที่นำเสนอก็พยายามสอนดีคะ ส่วนกลุ่มที่ฟังก็ตั้งใจฟังดี และให้ความร่วมมือดีมากในการทำ กิจกรรมCooking ทาโกยากิ

         อาจารย์  (Teacher ) อาจารย์ให้คำแนะนำเพิ่มเติมแต่ละกลุ่มที่ออกไปนำเสนอการสอนและบอกแนวทางแก้ไข เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น และอาจารย์ได้นำกิจกรรม Cooking ทาโกยากิ มาสอนอีกด้วยสนุกมากคะ ทำให้เราได้ความรู้เกี่ยวกับการทาโกยากิเพื่อไปใช้ในการสอนเด็กได้ในอนาคตด้วยคะ ชอบมาก