Welcome to my blogger

วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6


 Science Experiences Management for Early Childhood 
Teachert. Jintana Suksamran

 Tueday , September 23 , 2557
Time 14.10 To 17.30 pm.

ความรู้ที่ได้รับ ( The Knowledgo Gained )

          สำหรับวันนี้เริ่มกิจกรรมการทำลูกยางกระดาษ โดยอาจาย์เตรียมกระดาษและอุปกรณ์มาให้ แล้วสอนวิธีการทำ ถ้านำกิจกรรมนี้ไปใช้กับเด็ก ให้เด็กได้สร้างผลงานด้วยตนเอง ตามทฤษฎี Constructivism ให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ด้วยตนเอง


 จากนั้นวันนี้ก็มีการนำเสนอบทความของเพื่อนๆโดยสรุปได้ดังนี้
         คนที่ 1.Napawan Krudkhunthian
 สอนเด็กปฐมวัยเรียนวิทย์จาก “เป็ด” และ “ไก่”
 ผู้แต่ง  ครูลำพรรณี มืดขุนทด    จาก โรงเรียนบ้านหนองผือจำเริญพัฒนา

       คุณครูจึงได้การจัดการเรียนรู้ด้วยการสืบเสาะหา ความรู้ตามแนวทางของ สสวท.ผ่านนิทานเรื่อง “หนูไก่คนเก่ง”
    การเรียนรู้จากนิทานเรื่องนี้มีขั้นตอนการจัดกิจกรรม 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนนำเด็กร้องเพลงไก่ พร้อมทั้งทำท่าทางอย่างอิสระ ฟังนิทานเรื่องหนูไก่คนเก่ง สนทนาและตั้งคำถามในการสืบค้นเกี่ยวกับสัตว์ในนิทานเรื่องหนูไก่คนเก่ง ขั้นตอนต่อมาชวนเด็กตั้งคำถามเชิงวิทยาศาสตร์ สำรวจตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับไก่และเป็ด โดยนำลูกไก่และลูกเป็ดมาให้เด็กสังเกตรูปร่าง ลักษณะ ขนาด อาหารของลูกไก่และลูกเป็ดด้วยตาเปล่ากับแว่นขยาย และต้องบอกรายละเอียดให้มากที่สุด  


        คนที่ 2. Suthasinee Tamarnon
  แนวทางให้เด็กทดลอวิทยาศาสตร์
  ผู้เขียน: ดร.เพกัญญา  พรหมขัติแก้ว
        การส่งเสริมพัฒนาการของ เด็กปฐมวัยในด้านวิทยาศาสตร์นั้น อาจไม่จำเป็นต้องแยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ เพียงแต่ครูปฐมวัยควรจะตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ละช่วง เวลานั้น เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็กๆ และควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อจะสามารถตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ

      คนที่ 3.Narumon Isara 
  การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย
  โดย  มิสวัลลภา  ขุมหิรัญ
การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
    การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีประสบการณ์ตรง ได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนในของเด็กและส่งเสริมการ
 เพื่อพัฒนามุมมองและความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงการส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลและมีความรับผิดชอบสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวอย่างเหมาะสมตามวัย

        คนที่ 4. Yupadee Sonprasert
 เรื่อง  โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร?
 เด็กปฐมวัยไขคำตอบในวันวิทยาศาสตร์น้อย 2556
       กิจกรรมนี้จะทำให้เด็กปฐมวัยตระหนักว่าพวกเขาสามารถหาความรู้ได้จากสิ่งแวดล้อม ตัวของพวกเขามีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อมและร่วมสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมที่พวกเขาใช้ชีวิตอยู่ได้  ให้เด็กๆได้ทำกิจกรรมเรียนรู้ผ่านการสืบเสาะหาความรู้ การคิดละลงมือแก้ปัญหาด้วยประสบการณ์ตรงอย่างเหมะสมกับวัย และเป็นไปตามหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย

       หลังจากที่เพื่อนๆนำเสนอบทความเสร็จ อาจารย์ได้สอนต่อโดยใช้Power Point เรื่องทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยมีหัวข้อดังนี้



สิ่งที่จะนำไปพัฒนา ( What Will Be Furher Developedl )
       ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนการสอนการทำสื่อและฟังบทความวันนี้ นำไปปรับใช้ในการเรียนการสอนในรายวิชานี้ต่อไป และสามารถนำไปต่อยอดในการเรียนการสอนรายวิชาอื่นได้ด้วย อีกทั้งยังสามารถนำความรู้และการจัดกิจกรรมจากบทความที่เพื่อนๆนำเสนอไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรมให้เด็กๆได้อย่างเหมาะสมได้อีกในอนาคต

การประเมินผล ( Evaluation )
       ตนเอง  ( Self ) เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย มีความตั้งใจในการเรียน ตั้งใจทำกิจกรรม มีการนำเสอนบทความหน้าชั้นให้เพื่อนๆฟัง มีการจดบันทึกเนื้อหาทำความเข้าใจ
     
     เพื่อน  ( Friends ) เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์และแสดงความคิดเห็นต่างๆภายในชั้นเรียน 

     อาจารย์   (Teacher ) อาจารย์ มีการให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นในเนื้อหาซึ่งเป็นการฝึกให้นักศึกษากล้าที่จะแสดงความคิดเห็นและอาจายร์ยังได้ช่วยสรุปเกี่ยวกับบทความทำให้เราเข้าใจยิ่งขึ้น มีเทคนิคการสอนที่ดี มีการให้นัดศึกษาประดิษฐ์สื่ออีกด้วยดีคะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น