Welcome to my blogger

วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

Science Experiences Management for Early Childhood 
Teachert. Jintana Suksamran

Tueday , November 11 , 2557
Time 14.10 To 17.30 pm.

ความรู้ที่ได้รับ ( The Knowledgo Gained )
        สำหรับวันนี้ เป็นการออกไปนำเสนอแผนการสอนของแต่ละกลุ่มดังนีั
กลุ่มที่1 หน่วยผลไม้ 
             สอนเรื่องชนิดของผลไม้


กลุ่มที่2 หน่วยแตงโม
              สอนการทำน้ำแตงโมปั่น โดยมีการสาธิตการปั่นน้ำแตงโมให้ดูและให้ไปลองทำด้วย


กลุ่มที่3 หน่วยข้าวโพด
              สอนเรื่องประโยชน์และข้อควรระวังของข้าวโพด ข้าวโพดมีประโยชน์หลายอย่าง สามารถนำมาปรกอบอาหารได้ เช่น ข้าวโพดอบเนย ตำข้าวโพด น้ำมันข้าวโพด เป็นต้น และข้าวโพดยังมีข้อควรระวังอีกด้วย คือ หากรับประทานข้าวโพดมากเกินไปจะทำให้ ท้องผูก ท้องเสียได้


กลุ่มที่4 หน่วยกล้วย
             สอนเรื่องประโยชน์และข้อควรระวังของกล้วย กล้วยมีประโยชน์หลายอย่าง สามารถนำมาประกอบอาหารได้ เช่น กล้วยบวชชี แกงกล้วย กล้วยปิ้ง กล้วยทอด  เป็นต้น และกล้วยมีข้อควรระวังอีกด้วย คือ หากทานกล้วยมากเกินไปจะทำให้ ปวดท้อง และเปลือกกล้วยทำให้เรารื้นล้มได้หากเราเหยียบ


กลุ่มที่5 หน่วยช้าง
              สอนเรื่องชื่อและลักษณะของช้าง


กลุ่มที่6 หน่วยผีเสื้อ
              สอนเรื่องลักษณะของผีเสื้อ


สิ่งที่จะนำไปพัฒนา ( What Will Be Furher Developedl )
          นำความรู้เกี่ยวกับแผนการสอนที่เพื่อนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอ ไปปรับใช้ในการเรียนการสอนและนำเทคนิคการสอนไปปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น

การประเมินผล ( Evaluation )
          ตนเอง  ( Self ) ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอการสอนแผนและจดจำเทคนิคที่ดีของเพื่อนเพื่อ ไปปรับใช้กับการสอนของตนเอง

         เพื่อน  ( Friends ) กลุ่มที่นำเสนอก็พยายามเสร็จสื่อการสอนมาค่อนข้างดีคะ ส่วนกลุ่มที่ฟังก็ตั้งใจฟังดี

         อาจารย์  (Teacher ) อาจารย์ให้คำแนะนำเพิ่มเติมแต่ละกลุ่มและบอกแนวทางแก้ไข เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น


บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

Science Experiences Management for Early Childhood 
Teachert. Jintana Suksamran

Tueday , November 4 , 2557
Time 14.10 To 17.30 pm.

ความรู้ที่ได้รับ ( The Knowledgo Gained )
           สำหรับวันนี้อาจารย์ให้นักศึกษานั่งตามกลุ่มของตัวเอง  และอธิบายเกี่ยวกับการเขียนแผนการเรียนการสอน  ดังนี้
 1.สาระที่ควรเรียนรู้
 2.เนื้อหา
 3.แนวคิด
 4.ประสบการณ์สำคัญ
 5.บูรณาการรายวิชา
 6.เว็บกิจกรรม 6 กิจกรรม
   6.1กิจกรรมเสริมประสบการณ์
   6.2กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
   6.3กิจกรรมเสรี
   6.4กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
   6.5การเล่นกลางแจ้ง
   6.6เกมการศึกษา
 7.กรอบพัฒนาการ
 8.วัตถุประสงค์

สิ่งที่จะนำไปพัฒนา ( What Will Be Furher Developedl )
          สามารถนำความรู้การเขียนแผนการเรียนการสอน ไปปรับปรุงและแก้ไขเพื่อให้เด็กเกิดพัฒนาการ ทางสติปัญญาและการเรียนรู้ และยังนำไปสอดแทรกกับรายวิชาต่างๆในการเรียนด้วยเพื่อจะได้เขียนแผนได้ถูกต้อง

การประเมินผล ( Evaluation )
          ตนเอง  ( Self )  ตั้งใจเรียน สนใจฟังและจดบันทึกสิ่งที่อาจารย์สอน พูดคุยโต้ตอบกับอาจารย์บ้างในสิ่งที่ไม่เข้าใจ

         เพื่อน  ( Friends ) ตั้งใจฟังอาจารย์สอน แต่มีบ้างช่วงพูดคุยเสียงดัง แต่ก็มีการพูดคุยโต้ตอบกับอาจารย์ดีค่ะ

        อาจารย์  (Teacher ) อาจารย์นำความรู้การเขียนแผนที่ถูกต้องอย่างละเอียดมาอธิบาย เพื่อให้เราได้เขียนแผนได้ถูกต้องเป็นแนวทางเดียวกันดีมากค่ะ

วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

THESIS SUMMERY

สรุปวิจัย

เรื่อง ผลของการจัดประสบการณ์แบบปฏิบัติการทดลองประกอบอาหารกับแบบปกติที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ปรีญญานิพน์ ของ  วไลพร พงษ์ศรีทัศน์.

ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
1.        เพื่อศึกษาผลของการจัดประสบการณ์แบบปฏิบัติการทดลองประกอบอาหารและแบบปกติที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
2.        เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบปฏิบัติการทดลองประกอบอาหารกับวิธีจัดประสบการณ์แบบปกติ

ความสำคัญของการศึกษาค้นคว้า
                ผลการศึกษาครั้งนี้ทำให้ทราบถึงผลการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งสามารถเป็นแนวทางแก่ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัยในการเลือกจัดประสบการณ์เพื่อเพิ่มพูนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

กลุ่มที่เป็นเป้าหมาย
ประชากร เด็กชายหญิง อายุ 4-5 ปีที่กำลังศึกษาในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2532 ในโรงเรียนสาธิตในสังกัดกรรมการฝึกหัดครู

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
o   แผนการจัดประสบการณ์แบบปฏิบัติการทดลองประกอบอาหาร
o   แผนการจัดประสบการณ์แบบปกติ
o   แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ประโยชน์ที่ได้รับ
เด็กได้มีประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับการดำรงชีวิตได้การสำรวจทักษะพื้นฐานพัฒนาการในแต่ละด้านของเด็กเกี่ยวกับการทำอาหารที่เป็นกิจกรรมที่ได้จัดการประกอบอาหารสำหรับเด็กปฐมัวยเกิดขึ้นมาเพื่อทราบทักษะที่มีและแนวทางการประเมินพัฒนาการของเด็กในด้านนั้นๆ
สรุปดังนี้
เนื้อหา ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมสื่อสารการเรียนการสอนและวิธีการประเมินผลสำหรับขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมนั้นสามารถแบ่งออกเป็นสามขั้นตอน
ขั้นเตรียม                            
เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนด้วยการสนทนา ถามคำถามตั้งปัญหา ใช้เพลงคำคล้องจอง หรือสื่ออย่างใดอย่างอย่างหนึ่ง เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ
ขั้นปฏิบัติการ                      
นักเรียนปฏิบัติการทดลองประกอบอาหาร โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการเรียนรู้
ขั้นสรุป 
                โดยครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเพื่อนำไปสู่การสรุปผลที่ได้จากการปฏิบัติการ              


THAI TEACHER TV

สรุปโทรทัศน์ครู


เรื่อง Comprensive Approach การมีส่วนร่วมแบบสมบูรณ์

สรุปความรู้จากโทรทัศน์ครู เรื่องComprensive Approach การมีส่วนร่วมแบบสมบูรณ์ ดร.ปัทมศิริ ธีรานุรักษ์ จารุขัยวัฒน์ รร.อนุบาลธีรานุรักษ์
           สรุปได้ว่าการมีส่วนร่วมระหว่างผู้ปกครองกับโรงเรียนเป็นสิ่งสำคัญ เพราะผู้ปกครองคุณครูคนเเรกของลูก โรงเรียนจะเสนอรูปเเบบกิจกรรมเเละให้ผู้ปกครองร่วมตัดสินใจ
กิจกรรมคือ กิจกรรมเที่ยวนาคูธานี
           เป็นกิจกรรมที่โรงเรียนเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมทำกิจกรรมกับลูก
แนวคิดของกิจกรรม จะส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ทั้งด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ 
ด้านสังคมเเลระด้านสติปัญญา
รูปเเบบกิจกรรม  คือ กิจกรรมเวียนฐาน

  • จับเเมลง      
  • พายเรือ
  • นั่งรถกระเเทกชมนา
  • ขี่ควายดำนา
  • ทำของเล่นจากวัสดุธรรมชาติ
  • cooking
ประโยชน์ต่อตัวเด็ก
  • เรื่องวิถีชีวิตชาวนา ทราบถึงกระบวนการของข้าวจะเกิดความซึมซับเเละเห็นคุณค่าของข้าว
ทักษะทางวิทยาศาสตร์
  • การจับเเมลงจะสังเกต แล้วปล่อยสู่ธรรมชาติเหมือนเดิมเเละได้เรื่องความเมตตา
  • การทำอาหาร ทำไอศกรีม การเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของเเข็ง
  • การทอดไข่เจียว  การให้ความร้อน การตวง การวัดปริมาตร การลังเกต
  • การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการสำรวจสิ่งต่างๆ
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
  • การใช้เวลาอยู่กับลูก
  • ปรับเปลี่ยนทัศนคติในการสอนคือควรทบทวนและให้เด็กเห็นของจริง
  • รู้วิธีการสอนและการอบรมเลี้ยงดู


วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปความลับของอากาศ
            ลมก็คืออากาศที่เคลื่อนที่ได้ อากาศจะอยู่รอบๆตัวเรา อยู่ได้ทุกที่ มนุษย์หรือสัตว์พืชใช้อากาศในการหายใจ ถึงจะมองไม่เห็นแต่อากาศมีตัวตน  อากาศไม่มีรูปร่างแต่จะแทรกตัวอยู่ตลอดเวลา อากาศต้องการที่อยู่เหมือนกัน ถ้ามีอะไรมาแทนที่อากาศ อากาศก็จะเคลื่อนตัวออกไปทันที อากาศจะมีน้ำหนัก อากาศจะมีน้ำหนักต่างกันขึ้นอยู่กับความร้อนและเย็นอากาศบริเวณนั้น

               อากาศร้อนจะมีน้ำหนักที่เบาลง ทำให้วัตถุลอยขึ้น อากาศที่เราเป่าออกจากปากก็ร้อนเหมือนกัน อากาศจะคอยปรับความสมดุลอยู่ตลอดเวลา ลมก็คืออากาศเย็นที่พัดเข้ามา พื้นโลกจะมีความร้อนไม่เท่ากัน ลมสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปตามวัตถุที่ขวางทางอยู่ได้ อากาศมีคุณสมบัติสำคัญมากมายที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์ เช่น แรงดันอากาศ คือ แรงที่อากาศกดลงพื้นผิวไปยังวัตถุต่างๆ แรงดันอากาศสามารถยกของหนักๆได้อีกด้วย อากาศร้อนมีแรงดันน้อยกว่าอากาศเย็น อากาศที่เคลื่อนที่ก็จะมีแรงดันน้อยกว่าอากาศที่อยู่นิ่งๆ 



บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

Science Experiences Management for Early Childhood 
Teachert. Jintana Suksamran

 Tueday , October 28, 2557
Time 14.10 To 17.30 pm.

ความรู้ที่ได้รับ ( The Knowledgo Gained )
           สำหรับวันนี้อาจารย์ก็มีการทดลองและหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสำหรับเด็กมานำเสนอ  ดังภาพ


กิจกรรมที่ 1ดอกไม้บาน


           หลักการเมื่อเราตัดกระดาษเป็นรูปดอกไม้แล้วพับไว้ จากนั้นนำไปลอยในน้ำ ดอกไม้จะบานออก เพราะนำซึมเข้าไปอยู่บริเวณที่ว่างภายในกระดาษทำให้กระดาษบานออกได้

กิจกกรมที่ 2ขวดน้ำต่างระดับ
           หลักการขวดน้ำต่างระดับคือรูข้างล่างจะไหลแรงสุดและยิ่งต่ำแรงดันจะยิ่งเยอะ

กิจกรรมที่ 3น้ำไหลจากสายยาง
            หลักการน้ำไหลจากสายยางน้ำข้างล่างน้ำจะไหลไปไกลกว่า เพราะมีแรงดันอาก่าศดันน้ำได้ดีกว่า และน้ไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ ยิ่งน้ำมากน้ำจะไหลแรงขึ้นเพราะมีแรงดันมาก

กิจกรรมที่ 4ดินน้ำมันลอยน้ำ
          สำหรับการทดลองนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาปั้นดินน้ำมันให้เป็นลูกกลมๆ จากนั้นนำมาลอยน้ำ ผลปรากฎว่า ดินน้ำมันจมน้ำ จากนั้นอาจารย์ก็ให้ออกแบบไปปั้นมาว่าแบบใดจะสามารถลอยน้ำได้ ซึ่งดิฉันได้ปั้นแบบแบนๆ เพราะยิ่งว่าถ้าแบนและบางๆคงจะทำให้ลอยได้ แต่พอลองลอยน้ำก็จม และผลสรุปก็คือต้องปั้นเป็นรูปทรงตะกร้า ดินน้ำมันจึงจะสามารถลอยน้ำได้

        หลังจากเสร็จกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์แล้วอาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับการเขียนแผนต่อ แผนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยซึ่งอาจาร์ได้มีตัวอย่างการเขียนมาให้ดูแล้วอธิบายเพิ่มเกี่ยวกับเนื้อหาสาระที่สำคัญในการเขียนแผนที่ถูกต้อง เพื่อให้เราไปปรับปรุงแก้ไขแผนกลุ่มที่จะมานำเสนอ

ตัวอย่างเนื้อหาหน่วย สับปะรด ของกลุ่มดิฉัน



สิ่งที่จะนำไปพัฒนา ( What Will Be Furher Developedl )
          สามารถนำเอากิจกรรมต่างๆที่อาจารย์ได้นำมาให้เราทดลองนั้น ไปใช้ในการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยได้
          นำเอาความรู้ในเรื่องการเขียนแผน และตัวอย่างในการเขียนแผน ที่อาจารย์ได้สอนและอธิบาย ไปใช้ในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ให้กับเด็กๆได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับต่อพัฒนาการของเด็ก

การประเมินผล ( Evaluation )
          ตนเอง  ( Self ) ตั้งใจฟัง และสนใจกิจกรรมที่อาจารย์ได้นำมาสอน ให้ความร่วมมือในการได้ทำกิจกรรม ได้เกิดทักษะการคิดจากการได้ทดลอง สังเกต เปรียบเทียบ และเกิดเป็นความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง

          เพื่อน  ( Friends ) มีความสนใจในการทำกิจกรรมให้ความร่วมมือในการทำกิจกกรม มีความอยากรู้อยากทดลอง ร่วมมือในการทำกิจกรรม ช่วยกันคิดและแก้ไข้ปัญหา จนได้คำตอบ

        อาจารย์  (Teacher ) อาจารย์ใช้เทคนิกการสอนแบบการจัดกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์มาให้นักศึกษามาทดลองทำ เลยทำให้นักศึกษารู้สึก สนุกสนาน อยากรู้และอยากทำกิจกรรม นอกจากนี้ยังช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักศึกษาเข้าใจยิ่งขึ้นคะ
    

วันอาทิตย์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

Science Experiences Management for Early Childhood 
Teachert. Jintana Suksamran

 Tueday , October 21, 2557
Time 14.10 To 17.30 pm.

ความรู้ที่ได้รับ ( The Knowledgo Gained )
            สำหรับวันนี้อาจารย์ให้นำสื่อสิงประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์มานำเสนอซึ่งเพื่อนๆได้นำเสนอสิงประดิษฐ์ของเล่นมากมายเช่น กังหันน้ำ เสียงพาเพลิน ตุ๊กตาโยกเยก รถลูกโป่ง เป็นต้น ซึ่งดิฉันได้ทำจรวดหลอด
ตัวอย่างภาพจรวดหลอด

         เด็กจะได้วิทยาศาสตร์จากการเล่นจรวดหลอดคือใช้แรงดันอากาศ โดยการที่เราเป่าหลอด เพื่อให้ลมที่เราเป่าไปกระทบกับจรวดทำให้จรวดเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้ เด็กก็จะเกิดการเรียนรู้ในเรื่องของแรงดันลมและเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินอีกด้วย
         
         หลังจากนั้นอาจารย์ยังให้ประดิษฐ์สื่องานที่เหมาะจะนำไปใช้สอนสำหรับเด็กปฐมวัยอีกด้วยคือ
กิจกรรมประดิษฐ์สื่อของเล่นเชื่อกไต่
สิ่งที่จะนำไปพัฒนา ( What Will Be Furher Developedl )
           สามารถนำสื่อจากที่เพื่อนๆนำเสนอไปดัดแปลงรูปแบบเพื่อใช้ในการทำสิ่งประดิษฐ์สำหรับใช้สอนเด็กปฐมวัยได้ในการเรียนการสอน และยังนำการทดลองที่อาจารย์นำเสอนไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยได้อีกด้วย

การประเมินผล ( Evaluation )
       ตนเอง  ( Self ) ได้เตรียมตัวในการนำเสนอสื่อของเล่นสำหรับเด็กปฐมวัยมาเป็นอย่างดี ได้ออกไปนำเสนอได้อย่างรวดเร็วเหมาะสม และให้ความรวมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี ตั้งจฟังและบันทึกสิ่งที่เพื่อนๆนำเสนอ
     
     เพื่อน  ( Friends )  เพื่อนๆมีการนำเสนอสื่อป็นอย่างดีและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ

     อาจารย์   (Teacher ) อาจารย์มีคำแนะนำและแนวทางเพื่อให้นักศึกษาปรับปรุงสื่อให้ดียิ่งขึ้น และยังมีการนำการทดลองวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสำหรับเด็กปฐมวัยมาทำการทดลองให้ดูทำให้เราสนุกสนานตื่นเต้นดีมากคะ

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

Science Experiences Management for Early Childhood 
Teachert. Jintana Suksamran

 Tueday , October 14, 2557
Time 14.10 To 17.30 pm.

ความรู้ที่ได้รับ ( The Knowledgo Gained )
            สำหรับวันนี้เป็นการนำเสนอสิ่งประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยอาจารย์ให้นำเสนอ สิ่งประดิษฐ์ขึ้นจากวัสดุเหลือใช้ ประดิษฐ์เองได้ ด้วยวิธีและขั้นตอนที่ง่ายๆ โดยอาจารย์ให้อธิบายวิธีการประดิษฐ์ อุปกรณ์ วิธีการเล่น และของเล่นชิ้นนี้มีกลไกลทางวิทยาศาสตร์อย่างไร เด็กเล่นแล้วได้วิทยาศาสตร์อย่างไรจากของเล่นชิ้นนี้

สิ่งที่จะนำไปพัฒนา ( What Will Be Furher Developedl )
            สามารถนำสิ่งประดิษฐืวิทยาศาสตร์ที่เพื่อนๆนำเสนอไปปรับใช้ในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยได้อย่างหลากหลาย เพราะเด็กนั้นชอบที่จะเรียนรู้ผ่านการเล่น การลงมือปฏิบัติ จับต้องสิ่งของ ดังนั้นการใช้ของเล่นเป็นสื่อในการสอนนั้นจึงเป็นแนวทางที่ดีสำหรับให้เด็กเกิดการเรียนรู้

การประเมินผล ( Evaluation )
       ตนเอง  ( Self ) เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย มีความตั้งใจในการเรียน ตั้งใจทำกิจกรรม มีการจดบันทึกการนำเสนอของเล่นของเพื่อนๆที่มานำเสนอ และได้ออกนำเสนอของเล่นของตนเองด้วยคะ
     
     เพื่อน  ( Friends ) เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์และแสดงความคิดเห็นต่างๆภายในชั้นเรียน มีการให้ความร่วมมือในการออกนำเสนอของเล่นดีคะ แต่บางครั้งชอบคุยเสียงดังไปนิดคะ

 อาจารย์   (Teacher ) อาจารย์มีการเสนอแนะเกี่ยวกับของเล่นวิทยาศาสตร์ เพื่อให้นักศึกษาไปเป็นแนวทางในการปรับปรุงผลงานของตนเองให้ดียิ่งขึ้น