Science Experiences Management for Early Childhood
Teachert. Jintana Suksamran
Tueday , October 28, 2557
Time 14.10 To 17.30 pm.
ความรู้ที่ได้รับ ( The Knowledgo Gained )
สำหรับวันนี้อาจารย์ก็มีการทดลองและหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสำหรับเด็กมานำเสนอ ดังภาพ
กิจกรรมที่ 1ดอกไม้บาน
หลักการเมื่อเราตัดกระดาษเป็นรูปดอกไม้แล้วพับไว้ จากนั้นนำไปลอยในน้ำ ดอกไม้จะบานออก เพราะนำซึมเข้าไปอยู่บริเวณที่ว่างภายในกระดาษทำให้กระดาษบานออกได้
กิจกกรมที่ 2ขวดน้ำต่างระดับ
หลักการขวดน้ำต่างระดับคือรูข้างล่างจะไหลแรงสุดและยิ่งต่ำแรงดันจะยิ่งเยอะ
กิจกรรมที่ 3น้ำไหลจากสายยาง
หลักการน้ำไหลจากสายยางน้ำข้างล่างน้ำจะไหลไปไกลกว่า เพราะมีแรงดันอาก่าศดันน้ำได้ดีกว่า และน้ไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ ยิ่งน้ำมากน้ำจะไหลแรงขึ้นเพราะมีแรงดันมาก
กิจกรรมที่ 4ดินน้ำมันลอยน้ำ
สำหรับการทดลองนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาปั้นดินน้ำมันให้เป็นลูกกลมๆ จากนั้นนำมาลอยน้ำ ผลปรากฎว่า ดินน้ำมันจมน้ำ จากนั้นอาจารย์ก็ให้ออกแบบไปปั้นมาว่าแบบใดจะสามารถลอยน้ำได้ ซึ่งดิฉันได้ปั้นแบบแบนๆ เพราะยิ่งว่าถ้าแบนและบางๆคงจะทำให้ลอยได้ แต่พอลองลอยน้ำก็จม และผลสรุปก็คือต้องปั้นเป็นรูปทรงตะกร้า ดินน้ำมันจึงจะสามารถลอยน้ำได้
หลังจากเสร็จกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์แล้วอาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับการเขียนแผนต่อ แผนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยซึ่งอาจาร์ได้มีตัวอย่างการเขียนมาให้ดูแล้วอธิบายเพิ่มเกี่ยวกับเนื้อหาสาระที่สำคัญในการเขียนแผนที่ถูกต้อง เพื่อให้เราไปปรับปรุงแก้ไขแผนกลุ่มที่จะมานำเสนอ
ตัวอย่างเนื้อหาหน่วย สับปะรด ของกลุ่มดิฉัน
สิ่งที่จะนำไปพัฒนา ( What Will Be Furher Developedl )
สามารถนำเอากิจกรรมต่างๆที่อาจารย์ได้นำมาให้เราทดลองนั้น ไปใช้ในการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยได้
นำเอาความรู้ในเรื่องการเขียนแผน และตัวอย่างในการเขียนแผน ที่อาจารย์ได้สอนและอธิบาย ไปใช้ในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ให้กับเด็กๆได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับต่อพัฒนาการของเด็ก
การประเมินผล ( Evaluation )
ตนเอง ( Self ) ตั้งใจฟัง และสนใจกิจกรรมที่อาจารย์ได้นำมาสอน ให้ความร่วมมือในการได้ทำกิจกรรม ได้เกิดทักษะการคิดจากการได้ทดลอง สังเกต เปรียบเทียบ และเกิดเป็นความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง
เพื่อน ( Friends ) มีความสนใจในการทำกิจกรรมให้ความร่วมมือในการทำกิจกกรม มีความอยากรู้อยากทดลอง ร่วมมือในการทำกิจกรรม ช่วยกันคิดและแก้ไข้ปัญหา จนได้คำตอบ
อาจารย์ (Teacher ) อาจารย์ใช้เทคนิกการสอนแบบการจัดกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์มาให้นักศึกษามาทดลองทำ เลยทำให้นักศึกษารู้สึก สนุกสนาน อยากรู้และอยากทำกิจกรรม นอกจากนี้ยังช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักศึกษาเข้าใจยิ่งขึ้นคะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น